ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่ "ศูนย์บริการประชาชน" ที่ทำการปกครองจังหวัดพัทลุง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย วัตถุประสงค์เพื่อ อำนวยความสะดวก สำหรับประชาชน ที่มีความประสงค์ต้องการทราบข้อมูลข่าวสาร กฎระเบียบ ตลอดจน คุณสมบัติต่างๆ เกี่ยวกับ กฎหมาย 6 ฉบับ อันได้แก่ งานตาม ... พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.ควมคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ร.บ.โรงรับจำนำ และ พ.ร.บ.โรงแรม เพื่อใช้ในการประกอบการเตรียมตัว ถึงขึ้นตอนต่างๆ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาต พร้อมทั้งรายละเอียดของเอกสาร ที่ต้องใช้ ประกอบการพิจารณา การขออนุญาต ของทั้ง 6 พ.ร.บ. ก่อน ที่จะต้องเดินทางเข้ามารับบริการจริง ด้วยตนเอง ณ. จุดบริการของศูนย์บริการประชาชน :: ดาวน์โหลดเอกสาร คำขอย้ายสถานที่ตั้งโรงรับจำนำ อัตราค่าธรรมเนียมขายทอดตลาด เอกสารประกอบการขอจัดตั้งสมาคม เอกสารประกอบการจัดตั้งมูลนิธิ แบบการแจ้งเป็นผู้จัดการโรงแรม แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1-1) แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1) แบบคำขอหรือการแจ้งความประสงค์ทั่วไป(แบบ ร.ร.1-3) แบบคำขอโอน-รับโอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม(แบบ ร.ร.1-2) แบบคำร้องขอต่ออายุใบอนุญาต แบบคำร้องขอใบอนุญาต แบบพิมพ์คำขอของมูลนิธิ แบบใบรับแจ้งการเป็นผู้จัดการโรงแรม การขออนุญาตจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัล การขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ คำขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนัน(พน1) คำขออนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนัน คำขออนุญาตตั้งโรงรับจำนำ คำร้องทั่วไปขายทอดตลาด คู่มือขออนุญาตรับจำนำ ตัวอย่างแบบข้อจำกัดความรับผิดชอบในทรัพย์สินของลูกค้า หนังสือรับรองการไม่สามารถนำเอกสารบางอย่างมาประกอบคำขอใบอนุญาต เอกสารประกอบการบรรยายกฎหมายโรงแรม ความผิดเกี่ยวกับการขายทอดตลาดและค้าของเก่า คุณสมบัตรผู้ขายทอดตลาด การขอใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ การต่ออายุใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ การบริการด้านทะเบียนราษฎร์ การแจ้งเกิด : หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด 1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด 2. คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันเกิด เอกสารที่ใช้ 1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง 3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน แล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต
พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 มีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา โดยผลของกฎหมายฉบับดังกล่าว ทำให้ผู้ที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม และมีรายละเอียดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ กลุ่มบุคคลประเภทที่ 1 ได้แก่ บุคคลที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มีผลบังคับใช้คือผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์ หากพ้นกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท กลุ่มบุคคลประเภทที่ 2 ได้แก่บุคคลที่มีอายุ 7 ปี บริบูรณ์แต่ยังไม่ถึง 15 ปี อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ คือ ผู้ที่เกิดตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2539 ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม 2547 ต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 1 ปี คือภายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 หากพ้นกำหนดเวลาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท กลุ่มบุคคลประเภทที่ 3 ได้แก่กลุ่มบุคคลที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ อยู่ก่อนที่พระราชบัญญัติพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 ใช้บังคับ คือผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม 2535 แต่ไม่ได้ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ เมื่อไปยื่นคำขอมีบัตรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร ซึ่งมีบัตรประจำตัวตามกฎหมายอื่น ให้ใช้บัตรประจำตัวนั้นแทน บัตรประจำตัวประชาชน แต่หากประสงค์จะขอมีบัตร (รวมทั้งผู้ซึ่งมีอายุเกินเจ็ดสิบปี) ก็สามารถทำได้และต้องเสียค่าธรรมเนียมตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินการเกี่ยวกับบัตรประชาชน 1. การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก 2. กรณีบัตรเดิมหมดอายุ 3. กรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลาย 4. กรณีบัตรชำรุดในสาระสำคัญ 5. กรณีเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล 6. กรณีบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรขอมีบัตรประจำตัวประชาชน 7. กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่ 8. การขอตรวจหลักฐานหรือคัดสำเนารายการเกี่ยวกับบัตร สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ การหย่า ปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ 1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกระทำได้ 2 วิธี คือ - -การจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน - -การจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน 2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล เอกสารที่ใช้ 1. บัตรประจำตัวประชาชน 2. ใบสำคัญการสมรส 3. หนังสือหย่าหรือหนังสือสัญญาหย่า ขั้นตอนการดำเนินงาน กรณีการจดทะเบียนหย่าในสำนักทะเบียน 1. คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า 2. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน กรณีการจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียน 1. คู่หย่าตกลงเรื่องทรัพย์สิน การปกครองบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) โดยทำเป็นหนังสือหย่า 2. คู่หย่าตกลงกันก่อนว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องก่อนหลัง และแต่ละฝ่ายจะยื่นคำร้อง ณ สำนักทะเบียนใด 3. คู่หย่ายื่นคำร้องพร้อมหนังสือหย่าต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนตามที่ได้ตกลงกัน กรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล 1. หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คู่หย่าไม่ต้องจดทะเบียนหย่าอีก และหากให้คู่สมรสหย่าขาดจากกัน โดยมีเงื่อนไข ให้ไปจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียน การสมรสจึงจะสิ้นสุด สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้ * ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล * ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว * ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง -ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม -ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย -ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต -ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้ เอกสารที่ใช้ 1. สำเนาทะเบียนบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชน 3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว) ขั้นตอนการดำเนินงาน * ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ * กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน * กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียนท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 25 บาท * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ เอกสารที่ใช้ สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล 1. สำเนาทะเบียนบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชน 3. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล 1. สำเนาทะเบียนบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชน 3. หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2) 2. นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาต และออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล 3. ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล 4. นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท 5. ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต ค่าธรรมเนียม 50 บาท
หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ 1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี 2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน 3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว 4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย 5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม 6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล 7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล เอกสารที่ใช้ 1. สำเนาทะเบียนบ้าน 2. บัตรประจำตัวประชาชน 3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว) ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน 2. นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบหลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย 3. นายทะเบียนท้องที่ส่งเรื่องราวการขอจดทะเบียนชื่อสกุลไปตามลำดับจนถึงนายทะเบียนกลาง 4. นายทะเบียนกลางพิจารณาาแล้วแจ้งผลกลับไปจังหวัด เพื่อแจ้งนายทะเบียนท้องที่แจ้งให้ผู้ขอทราบ 5. กรณีที่นายทะเบียนกลางอนุมัติ นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 50 บาท 6. เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต การจดทะเบียนรับรองบุตร หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ เอกสารที่ใช้ - บัตรประจำตัวประชาชนผู้เกี่ยวข้อง - ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ผู้เกี่ยวข้อง - สูติบัตรของบุตร - หนังสือแสดงความยินยอมของบุตร - หนังสือแสดงความยินยอมของมารดาของบุตร - พยานบุคคล 2 คน ขั้นตอนการดำเนินงาน * บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร ต่อนายทะเบียน ณ สำนักทะเบียนอำเภอ กิ่งอำเภอหรือสำนักทะเบียนเขต *เด็กและมารดาเด็กต้องให้ความยินยอมในการจดทะเบียนทั้งสองคนถ้าเด็กหรือมารดาเด็กคนใดคนหนึ่งไม่ให้ความยินยอมหรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กเป็นผู้เยาว์ไร้เดียงสา มารดาเด็กถึงแก่กรรม เป็นต้น การจดทะเบียนรับรองบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต การแจ้งตาย หลักเกณฑ์ / คุณสมบัติ เมื่อมีคนตายให้แจ้งการตาย (1) คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ (2) คนตายนอกบ้าน ให้คนที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ ที่มีการตายหรือพบศพ หรือแห่งท้องที่ ที่จะพึงแจ้งได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ กรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ กำหนดเวลาให้แจ้งตาม (1) และ (2) ถ้าท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียน กลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวันนับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ หากไม่ปฏิบัติตาม (1) และ (2) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท เอกสารที่ใช้ 1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่คนตายมีชื่อและรายการบุคคล (ถ้ามี) 2. หนังสือรับรองการตายจากโรงพยาบาล (ถ้ามี) 3. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียน เพื่อตรวจสอบและลงรายการในมรณบัตร 2. จำหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน โดยจะประทับคำว่า "ตาย" สีแดง ไว้หน้ารายการคนตาย 3. มอบมรณบัตร ตอนที่ 1 สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนคืนผู้แจ้ง สถานที่ติดต่อ / ค่าธรรมเนียม ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขต |
ศูนย์บริการประชาชน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)