สรรสาระ













ชื่อตำแหน่งในส่วนภูมิภาค

ระดับจังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัด
Governor 
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
Vice Governor
ปลัดจังหวัด
Deputy Governor
จ่าจังหวัด
(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ)
Chief of Provincial Administration Group
(Governing  Officer, Senior Professional Level)
เสมียนตราจังหวัด
(นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการพิเศษ)
Chief of Finance and Accounting Group
(Finance and Accounting Analyst, Senior Professional Level  )
เสมียนตราจังหวัด
(นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ)
Chief of Finance and Accounting Group
(Finance and Accounting Analyst, Professional Level  )
เสมียนตราจังหวัด
(เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีอาวุโส)
Chief of Finance and Accounting Group
(Finance and Accounting Officer, Senior Level)
ป้องกันจังหวัด
(เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการพิเศษ)
Chief of Security Affairs Group
(Governing  Officer, Senior Professional Level)
ผู้ช่วยจ่าจังหวัด
Assistant Chief of Provincial Administration Group
ผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัด
Assistant Chief of Finance and Accounting Group
ผู้ช่วยป้องกันจังหวัด
Assistant Chief of Security Affairs Group
นิติกรประจำจังหวัด
Provincial Legal Officer


ระดับอำเภอ

นายอำเภอ
Chief District Officer
ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
Minor Chief District Officer
ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานปกครอง
Senior Assistant Chief District Officer as Chief of Administration Group
ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายบริหารงานปกครอง
Senior Assistant Chief District Officer as Chief of Administration Section
ปลัดอำเภออาวุโส
Senior Assistant Chief District Officer
ปลัดอำเภอ
Assistant Chief District Officer
ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำตำบล
Chief Subdistrict Officer
นายทะเบียนอำเภอ
District Registrar
ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ
Assistant District Registrar
นายทะเบียนตำบล
Subdistrict Registrar
ผู้ช่วยนายทะเบียนตำบล
Assistant Subdistrict Registrar
เสมียนตราอำเภอ
District Finance and Accounting Officer
หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตร
Chief of Registration and Identification Card Section
หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง
Chief of Security Affairs Section
หัวหน้าฝ่ายอำนวยความเป็นธรรม
Chief of Justice Enhance Section
เจ้าหน้าที่ปกครอง
Assistant Governing Officer
สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.)
Territorial Defense Volunteer
สมาชิกไทยอาสาป้องกันชาติ (ทส.ปช.)
National Defense Volunteer
ลูกเสือชาวบ้าน (ลส.ชบ.)
Volunteer Scout
อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.)
Civil Defense Volunteer
ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
Village Security Team
กำนัน
Subdistrict Headman
ผู้ใหญ่บ้าน
Village Headman
สารวัตรกำนัน
Assistant Subdistrict Headman
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
Assistant Village Headman
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายความมั่นคง
Assistant Village Headman for Security Affairs
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ
Assistant Village Headman for Order Maintenance
แพทย์ประจำตำบล
Subdistrict Medical Practitioner
คณะกรรมการหมู่บ้าน
Village Committee
คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง (อพป.)
Central Committee of the Village for Voluntary Development and Self-Defense


ตำแหน่งพนักงานราชการ

เจ้าหน้าที่ธุรการ
Clerk
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี
Assistant Finance and Accounting Officer
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน
Plan and Policy Analyst
เจ้าหน้าที่สื่อสาร
Assistant Communication Officer
ล่าม
Translator



หน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย

สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานรัฐมนตรี
กรมการปกครอง
กรมการพัฒนาชุมชน
กรมที่ดิน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐวิสาหกิจ
การไฟฟ้านครหลวง
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
การประปานครหลวง
การประปาส่วนภูมิภาค
องค์การตลาด
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Interior
Office of the Secretary to the Minister
Department of Provincial  Administration
Community Development Department
Department of Lands
Department of Disaster Prevention and Mitigation
Department of Public Works and Town & Country Planning
Department of Local Administration
State Enterprises
The Metropolitan Electricity Authority
Provincial Electricity Authority
The Metropolitan Waterworks Authority
Provincial Waterworks Authority
The Marketing Organization


พัทลุง                                                           PHATTHALUNG

          เมืองพัทลุง                               MUEANG PHATTHALUNG
            กงหรา                                 KONG RA
            เขาชัยสน                             KHAO CHAISON
            บางแก้ว                               BANG KAEO
            ตะโหมด                              TAMOT
            ควนขนุน                              KHUAN KHANUN
            ศรีนครินทร์                           SRINAGARINDRA
            ศรีบรรพต                             SI BANPHOT
            ป่าพะยอม                            PA PHAYOM
            ปากพะยูน                            PAK PHAYUN
            ป่าบอน                                PA BON


ศัพท์เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
Provincial Administrative Organization (PAO)
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
เลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด









Chief Executive of the PAO
Deputy Chief Executive of the PAO
Advisor to the Chief Executive of the PAO
Secretary to the Chief Executive of the PAO
Provincial Administrative Organization Council
Chairman of the PAO Council
Vice Chairman of the PAO Council
Member of the PAO Council
Secretary of the PAO Council
Chief Administrator of the PAO
Deputy Chief Administrator of the PAO









เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการทำบัตรประชาชนเด็ก








1.ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 มีสาระสำคัญ คือ การกำหนดอายุของบุคคลสัญชาติไทยที่จะต้องมีบัตร คือ ให้ผู้มีอายุครบ 7 ปีบริบูรณ์จะต้องยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน (กรณีผู้มีอายุระหว่าง 7 ปีบริบูรณ์จนถึงก่อนครบ 15 ปีบริบูรณ์ ให้ยื่นขอมีบัตรภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 10 กรกฎาคม 2554 หรือหากมีความจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะขอขยายเวลาออกไปได้)

          2.บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งรับดูแลผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ จะต้องเป็นผู้ยื่นคำขอมีบัตร ขอมีบัตรใหม่ หรือเปลี่ยนบัตรให้ผู้ที่อายุไม่ถึง 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่ตัดสิทธิบุคคลที่จะยื่นคำขอด้วยตนเอง

          3.ในการกำหนดโทษ หากไม่ยื่นขอบัตรภายใน 60 วัน กรณีขอมีบัตรครั้งแรก ต่ออายุบัตร บัตรหาย ชำรุด หรือเปลี่ยนชื่อตัว-ชื่อสกุล จะมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

          4.บัตรดังกล่าวมีอายุ 8 ปี สามารถใช้ประโยชน์ในการแสดงสิทธิได้หลายประการ เช่น แสดงสิทธิ์การขอรับแท็บเลตกับทางรัฐบาล ที่บอกว่าจะแจกฟรีให้เด็ก รวมถึงการป้องกันปัญหาการสวมสิทธิ์จากเด็กต่างด้าว

          5.กรณีผู้ถือบัตรไม่มีบัตรแสดงเมื่อพนักงานตรวจบัตรขอตรวจ ผู้ถือบัตรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปจะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท รวมทั้งกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม

          6. กรณีทำบัตรใหม่ไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่หากทำบัตรหาย ชำรุด แก้ไขชื่อตัว-ชื่อสกุล เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท, ออกใบแทน 10 บาท และขอตรวจคัดสำเนา 10 บาท

สามารถทำบัตรประชาชนเด็กได้ที่ไหน

          กรมการปกครองได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อรองรับกลุ่มบุคคลที่ต้องมีบัตรตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ ด้วยการให้บริการเชิงรุก โดยสำนักบริหาร การทะเบียน ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค 9 แห่ง และศูนย์บริหารการทะเบียนภาค สาขาจังหวัด 77 ศูนย์ จัดหน่วยบริการจัดทำบัตรเคลื่อนที่ (Mobile Unit) ออกไปให้บริการจัดทำบัตรให้กับนักเรียน นักศึกษา ตามสถานศึกษาต่าง ๆ เดือนละ 3 ครั้ง เริ่มดำเนินการทั่วประเทศ รวมทั้งยังได้จัดวันและเวลาที่เหมาะสมในช่วงวันเสาร์ เชิญโรงเรียนเข้ามาทำบัตรประชาชนที่เขตหรืออำเภอด้วย โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.2554 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 ก.ค.2555

          สำหรับในวันที่ 10-11 กรกฎาคม จะเริ่มประเดิมการทำบัตรประชาชนให้แก่เด็ก ๆ ในสถานศึกษา 4 แห่ง คือ

          1.โรงเรียนราชบพิธ แขวงราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
          2.โรงเรียนวัดสุวรรณบำรุงราชวราราม ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี
          3.โรงเรียนวัดกู้ (นันทาภิวัฒน์) ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
          4.โรงเรียนสันติวิทยา อ.เมืองฯ จ.เชียงราย



[6 กรกฏาคม] เชิญชวน 7 ขวบ ทำบัตรประชาชน ตั้งแต่ 11 ก.ค.


        เชิญชวนผู้ปกครองยื่นเรื่องทำบัตรประชาชนให้เด็ก 7 ขวบ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฏาคมนี้ เป็นต้นไป หากพ้นกำหนดเวลา 1 ปี ถูกปรับ 100 บาท

        หลังจากที่ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 128 ตอนที่ 34 ก วันที่ 11 พ.ค. 2554 โดยมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 60 วัน คือตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค. 2554 เป็นต้นไป เป็นผลให้เด็กไทยอายุ ตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย ซึ่งคาดว่ามีเด็กกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศประมาณ 8 ล้านกว่าคน 

        สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 70 ปี และมีชื่อในทะเบียนบ้าน ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน ส่วนกรณีเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี สามารถยื่นคำขอมีบัตรด้วยตนเอง หรือให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ดูแล เป็นผู้ยื่นคำขอแทนก็ได้ ภายในกำหนด 1 ปี นับแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ หรือภายใน 10 กรกฎาคม 2555 ซึ่งหากไม่ยื่นขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท




จังหวัดที่ ๗๗
          

จังหวัดบึงกาฬ 
เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตาม   พระราชบัญญัติ   
ตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับ                                                  
ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป   โดยแยกอำเภอบึงกาฬ                  
                         อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง                                              อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
          กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
อีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." ผลการสำรวจความเห็น
ของประชาชนงหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน
ปรากฏว่า ร้อยละ ๙๘.๘๓   เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ
 ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้ง
จังหวัดบึงกาฬ  โดยให้เหตุผลว่า

• เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะ
พิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน,

• จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อ
การรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน,

• จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มี
เนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน,

• จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ

• บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้
 ไม่มีผลกระทบมากนัก

              ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ 
 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลง
เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔  นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้ง
จังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔" ในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น  เหตุผลใน
การประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า
"...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน
และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่าง
อำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และ
ใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์
ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และ
การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยก
อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า
อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ
และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครอง
ของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำ
เป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้"




นอกจากมาตรา ๓ ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัด
ตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปด
ข้างต้นแล้ว มาตรา ๔ ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ"
เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย


หน่วยการปกครอง













การปกครองส่วนภูมิภาค


การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 54 ตำบล 599 หมู่บ้าน

1. อำเภอเมืองบึงกาฬ

2. อำเภอพรเจริญ

3. อำเภอโซ่พิสัย

4. อำเภอเซกา

5. อำเภอปากคาด

6. อำเภอบึงโขงหลง

7. อำเภอศรีวิไล

8. อำเภอบุ่ง


******************


                   รหัสลับบุคคล

(PIN Code : Personal Identification Number Code)

PIN Code คืออะไร

PIN Code คือชุดตัวเลขหรือตัวอักษรที่กำหนดขึ้นเป็นรหัสลับเฉพาะส่วนบุคคล
ที่ใช้ร่วมกับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อใช้เป็นรหัสผ่านเข้าสู่ระบบงานหรือการให้
บริการในระบบคอมพิวเตอร์ ภายใต้ข้อกำหนดหรือรูปแบบของหน่วยงาน
ผู้ให้บริการจะกำหนดขึ้น


PIN Code กับ กรมการปกครอง


กรมการปกครองได้พัฒนาระบบงานการให้บริการประชาชนทางด้าน
งานทะเบียนและบัตรด้วยระบบคอมพิวเตอร์มาอย่างต่อเนื่องมี
ประสิทธิภาพและประชาชนที่ไปติดต่อขอใช้บริการได้รับ
ความสะดวกรวดเร็วประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย จากการพัฒนา
ระบบงานอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนทุกหนแห่ง
มีสิทธิเข้าถึงการบริการของภาครัฐที่เปิดให้บริการข้อมูลด้านต่างๆ
ได้อย่างทั่วถึงผ่านระบบเครือข่าย กรมการปกครองจึงได้ขยายรูปแบบ
การให้บริการโดยได้รับความเห็นชอบและอนุมัติจากอธิบดีกรมการ
ปกครองให้สำนักบริหารการทะเบียนเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบนำ
โครงการรหัสบุคคล(PIN PROJECT) มาใช้ พร้อมทั้งให้
กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมฟรี
 (Free E-mail Address khonthai.com) แก่คนไทย
ทุกคนที่มีรหัส PIN Code เพื่อใช้ในการรับ-ส่งจดหมายผ่าน
ระบบเครือข่าย Internet ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com


เริ่มใช้รหัส PIN Code เมื่อไหร่่


กรมการปกครองได้เริ่มให้บริการรหัส PIN Code
 เป็นการทดลองปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2544
เพื่อให้ประชาชนได้ใช้เป็นรหัสผ่านควบคู่กับ
เลขประจำตัวประชาชนเพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการตรวจสอบ
ข้อมูลของตนเองและเป็นรหัสผ่านเข้าสู่กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
(E-mail) ที่ได้มาพร้อมกับรหัส PIN Code ผ่านInternet ที่
www.dopa.go.th และ www.khonthai.com


ผู้มีสิทธิ และ การไปติดต่อขอรับ PIN Code


1. ประชาชนคนไทยทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านถูกต้อง
ตามกฎหมายมีสิทธิขอรับได้ทุกคน PIN Code


2. หากท่านต้องการ สามารถไปขอรหัส PIN Code
ได้ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักงานเขต หรือเทศบาล
แห่งใดก็ได้ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สำนักทะเบียนสามารถ
ออนไลน์ทั่วถึงกันทุกแห่งแล้ว ให้ไปติดต่อขอรับที่งานทะเบียนราษฎร


3. โปรแกรมให้รหัสลับบุคคล หรือ PIN Code นี้จะอยู่ที่
โปรแกรมรับแจ้งให้บริการงานทะเบียนราษฎร ข้อที่ 11
4. ผู้ขอต้องเป็นเจ้าของข้อมูลเท่านั้น

5. หลักฐานที่ใช้ เพียงบัตรประจำตัวประชาชนก็พอแล้ว
(สำหรับผู้ที่ยังไม่มีบัตรสามารถนำหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน
และสำเนาใบสูติบัตรไปยื่นขอได้ที่งานทะเบียนราษฎร) ปล.
 ไม่มีค่าใช้จ่าย-ไม่มีค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น


รหัส PIN Code ที่ได้มาเป็นอย่างไร


รหัส PIN Code ที่ได้มา (อาจเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร 4 ตัว)
 มี 2 ชุด อยู่คนละบรรทัด ชุดที่ 1 บรรทัดบน เรียกว่า PIN 1
ชุดที่ 2 บรรทัดล่าง เรียกว่า PIN 2 โดยทั่วไปจะใช้ PIN 1 ส่วน
PIN 2 จะใช้ในบางโปรแกรมซึ่งจะระบุให้ใช้ทั้ง PIN 1 และ PIN 2
โดยจะมีคำชี้แจงแจ้งให้ทราบไว้อย่างชัดเจน


เมื่อท่านได้รหัส PIN Code มา ท่านจะได้รับกล่องจดหมาย
อิเล็กทรอนิกส์คนไทยดอทคอมโดยอัตโนมัติด้วย ซึ่ง e-mail address
ของท่านคือ pตามด้วยเลขประจำตัวประชาชนของท่าน@khonthai.com
ดังตัวอย่าง p3100199999001@khonthai.com ฟรีทันทีซึ่งให้เนื้อที่
เก็บจดหมายขนาด 2 เมกะไบต์ (Megabytes) และสามารถแนบไฟล์
ข้อมูลได้ครั้งละ 30 กิโลไบต์ (Kilobyte) เมื่อใดก็ตามที่เนื้อที่เก็บจดหมาย
ของท่านเต็มท่านจะไม่สามารถรับจดหมายใหม่ได้ท่านต้องทำการลบ
จดหมายที่ไม่ต้องการทิ้งด้วยตัวท่านเอง


การใช้รหัส PIN Code


เมื่อท่านได้รับรหัส PIN Code มาท่านสามารถเข้าสู่ระบบตรวจสอบข้อมูลตนเอง
ได้ทันที สำหรับการเข้าใช้งานระบบ webmail khonthai ท่านจะใช้งานได้ในวันถัดไป
ช่องทางการเข้าใช้งาน มีดังนี้


1. ที่เว็บไซต์ www.dopa.go.th และ คลิกที่ Banner : Thailand Gateway
2. ที่เว็บไซต์ www.khonthai.com และ คลิกที่หัวข้อ Thailand Gateway
หรือ หัวข้อประตูสู่การบริการภาครัฐ หรือ
URL : http://www.khonthai.com/thailandgateway/
3. ใช้ผ่านตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM : Multi Purpose Machine)
ซึ่งเป็นเครื่องบริการประชาชนอัตโนมัติ มีระบบให้บริการประชาชน
หลากหลายรูปแบบ อาทิ การคัดสำเนารายการข้อมูลตนเอง
การแจ้งย้ายเข้าหรือออกจากทะเบียนบ้านแบบอัตโนมัติ
โดยไม่ต้องไปทำที่อำเภอ ฯลฯ จะเปิดให้บริการ ในเร็ว ๆ นี้


ประชาชนจะได้รับประโยชน์อย่างไร


1. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบข้อมูลของตนเองจากฐานข้อมูล
โดยตรง เช่น ข้อมูลตามทะเบียนราษฎร ข้อมูลการทำบัตร
ข้อมูลการจดทะเบียนสมรส / หย่า ฯลฯ
2. เป็นรหัสสำหรับเข้าตรวจสอบสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของภาครัฐที่
ทางราชการจะแจ้งสิทธิต่างๆ ของท่านให้ทราบผ่านทางเลือกนี้
และที่จะเปิดให้บริการเพิ่มเติม เช่นสิทธิการเลือกตั้งประกันสุขภาพ
ประกันสังคม การขึ้นทะเบียนทหารการทำใบขับขี่ฯลฯ


3. เป็นรหัสสำหรับเข้าขอตรวจคัดรับรองสำเนารายการทะเบียนข้อมูล
ของตนเองผ่านทาง Internet และตู้บริการอเนกประสงค์ (MPM)
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการติดต่อหน่วยงานใด ๆ ได้โดยไม่ต้องพกพา
เอกสารติดตัว
4. เป็นรหัสสำหรับเข้าสู่กล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
E-mail Address khonthai.com) เพื่อรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารได้
5. เป็นรหัสสำหรับการยืนยันตัวบุคคลในการขอทำบัตรประจำตัว
ประชาชนครั้งต่อไป เพื่อเป็นการป้องกันบุคคลอื่นมาสวมตัว
หรือสวมสิทธิขอท่านในการทำบัตร 6. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการต่างๆ ภาครัฐ (E-GOVERNMENT)

7. เป็นรหัสในการแสดงความคิดเห็นและลงประชามติ

8. เป็นรหัสในการขอเข้ารับบริการทางธุรกิจ (E-BUSSINESS)

9. เป็นรหัสในการยื่นคำร้องสอบถามข้อมูลหรือจ่ายค่าบริการภาครัฐ

10. ประชาชนได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการขอใช้บริการ
ทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รัฐ จัดทำขึ้นให้แก่ประชาชนเพื่อส่งเสริม
ความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นและในอนาคตอันใกล้นี้ ยังมีบริการอื่นๆ อีกมากที่
จะตามมาดังนั้นรหัสบุคคลจึงมีความจำเป็นสำหรับทุกคนขอให้เก็บ
รักษาไว้ให้ดีและพยายามจดจำไว้ให้แม่นยำ






"สิทธิของท่านท่านพึงต้องรักษาไว้ด้วยตัวของท่าน"

***********************



กำเนิดบัตรประชาชน



บัตรประชาชนเป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคล มีแนวคิดมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากยุคนั้นประชาชนซึ่งมีฐานะไพร่ประมาณ 80-90% เป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นกำลังหลักในด้านเศรษฐกิจ การศึกสงคราม เป็นแรงงานในการก่อสร้าง ฯลฯ ทางราชการจึงต้องมีการสักบอกสังกัดมูลนายไว้ที่ข้อมือ เมื่อจะเดินทางไปท้องที่อื่นจะ
ต้องขออนุญาตจากเจ้านาย การสักข้อมือจึงเป็นวิธีการที่ใช้ในการยืนยันตัวบุคคลของคนไทยมาตั้งแต่อดีต

กระทั่งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ยกเลิกไป ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการยกเลิกระบบทาสและไพร่ ราษฎรที่ต้องการเดินทางไปท้องที่อื่นที่ไม่ใช่ท้องถิ่นที่อยู่ของตนเองจะ ต้องไปขอหนังสือเดินทางจากอำเภอ เพื่อใช้เป็นเอกสารรับรองผู้ถือว่าเป็นใคร มาจากแห่งหนตำบลใด โดยหลักฐานอยู่ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 90 บัญญัติว่า "กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปทำมาค้าขายในท้องที่อื่น"

ในปีพ.ศ.2486 รัฐบาลสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นมาบังคับใช้เป็นการเฉพาะครั้งแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พุทธศักราช 2486" บังคับให้ประชาชนที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี จัดทำบัตรประจำตัวประชาชนเป็นครั้งแรก มีลักษณะเป็นบัตรรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พับ 4 ตอน สีพื้นตัวบัตรเป็นสีฟ้าอมเขียว และมีลายเทพพนมตลอดเล่ม ภายในเล่มมีข้อมูลของผู้ถือบัตร

ปี 2505 มีการออกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน โดยปรับปรุงบัตรให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แผ่นเดียวขนาดกว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร ด้านหน้าเป็นรูปครุฑอยู่ตรงกลางพร้อมข้อความ "สำนักบริหารการทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชนกระทรวงมหาดไทย" วันที่ออกบัตรและวันที่บัตรหมดอายุ ด้านหลังจะเป็นรายการข้อมูลของผู้ถือบัตร มีภาพถ่ายขาว-ดำที่มีเส้นบอกส่วนสูงเป็นนิ้วฟุตเลขและตัวอักษรแสดงอำเภอที่ ออกบัตร และลายมือชื่อเจ้าพนักงานออกบัตร เป็นต้น ปี 2531 จึงเปลี่ยนเป็นรูปสีธรรมชาติ

กระบวนการจัดทำบัตรที่ผ่านมาใช้มือเป็นหลัก บัตรรุ่นแรกทำที่สำนักทะเบียนอำเภอ และนับแต่ปี 2505 จัดทำที่ส่วนกลาง คือสำนักทะเบียนบัตรรวบรวมข้อมูลและรูปถ่ายผู้ถือบัตรส่งให้ส่วนกลางผลิต เมื่อผลิตเสร็จจึงส่งกลับไปให้สำนักทะเบียนแจกจ่ายให้ประชาชน ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน
 การพัฒนาบัตรประจำตัวประชาชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน
 
ปี 2539 มีการทำบัตรแถบแม่เหล็ก ซึ่งทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผลิตเองที่สำนักทะเบียน ประชาชนรอรับบัตรได้เลยใช้เวลาประมาณ 15 นาที กระทั่งปี 2547 จึงหันมาใช้บัตรอเนกประสงค์ หรือสมาร์ท การ์ดแทน เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและป้องกันการปลอมแปลงได้ 100% แต่ตอนนี้ระงับชั่วคราวกลับมาใช้บัตรแถบแม่เหล็กก่อน เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำสมาร์ทการ์ดหมดต้องรอการประมูลและจัดซื้อใหม่
                                แต่ไม่นานเกินรอ.....  กรมการปกครองจะดำเนินการจัดหาบัตรสมาร์ทการ์ดมาให้ประชาชนได้ใช้ อีกครั้ง



เลข 13 สำหรับคนไทย
มีด้วยกัน 13 หลัก และตัวเลขในแต่ละหลักนั้นมีความหมายแอบแฝงอยู่   การกำหนดให้บุคคลเริ่มมีเลขประจำตัว 13 หลักในทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชน   โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 อันเป็นวันสุดท้ายของการดำเนินการให้ประชาชนที่ไม่มีเลขประจำตัวในบัตรหรือ ทะเบียนบ้านได้มีเลขประจำตัวจนครบแล้วนั้น ก็เพราะก่อนหน้านี้ประเทศไทยยังไม่เคยมีการกำหนดเลขประจำตัวดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้นช่วงที่ว่าจึงเป็นระยะเวลาจัดระบบให้เข้าที่เข้าทาง เพราะหลังจากวันที่ 31 พฤษภาคม         พ.ศ. 2547 แล้วทุกคนจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชนเพื่อแสดงตนว่าเป็นบุคคลประเภทใดโดยดู ตามเงื่อนไขในแต่ละกรณี
ตัวอย่างเลขในบัตรประชาชน  1 2345  67890 12  3

ตัว เลขหลักที่ 1

1 2345  67890 12  3
หมายถึง  ประเภทบุคคล ซึ่งมีอยู่ 8 ประเภท ได้แก่

ประเภท ที่ 1

คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยและได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป อันเป็นวันเริ่มแรกที่เขาประกาศให้ประชาชนทุกคนต้องมีเลขประจำตัว 13 หลัก เมื่อพ่อแม่ผู้ปกครองไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือสำนักทะเบียนในเขตที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่เกิดมาตามที่กฎหมายกำหนด เด็กคนนั้นก็ถือเป็นบุคคลประเภท 1 และจะมีเลขประจำตัวขึ้นด้วยเลข 1

ประเภท ที่ 2

คือคนที่เกิดและมีสัญชาติไทยได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา หมายความว่า เด็กคนใดก็ตามที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไป แล้วผู้ปกครองลืมหรือติดธุระไม่สามารถไปแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตภายใน 15 วันตามกำหนด เมื่อไปแจ้งภายหลังเด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นบุคคลประเภท 2 มีตัวเลขตัวแรกในทะเบียนบ้านขึ้นด้วยเลข 2

ประเภท ที่ 3

คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและมีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (คือตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527) หมายความว่า บุคคลใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนต่างด้าวที่ไม่มีใบสำคัญประจำตัวคน ต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ณ ที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทยมาตั้งแต่ก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 คนนั้นถือว่าเป็นบุคคลประเภท 3 และก็จะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 3

ประเภท ที่ 4

คือคนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว แต่แจ้งย้ายเข้าโดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก หมายความว่า คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าว ที่อาจจะเป็นบุคคลประเภท 3 คือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดิมอยู่แล้ว แต่ยังไม่ทันได้เลขประจำตัวก็ขอย้ายบ้านไปเขตหรืออำเภออื่นก่อนช่วง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 ก็จะเป็นบุคคลประเภท 4 ทันที

 ประเภท ที่ 5

คือคนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจ หรือกรณีอื่นๆ

ประเภท ที่ 6

คือผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว กล่าวคือ คนที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่ยังไม่ได้สัญชาติไทยเพราะทางการยังไม่รับรอง ทางกฎหมาย เช่น ชนกลุ่มน้อยตามชายแดนหรือชาวเขา กลุ่มนี้ถือว่าเป็นผู้เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนบุคคลที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ชั่วคราว เช่น นักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย แม้บางคนจะถือพาสปอร์ตประเทศของตน แต่อาจจะมีสามีหรือภริยาคนไทยจึงไปขอทำทะเบียนประวัติเพื่อให้มีชื่ออยู่ใน ทะเบียนบ้านสามีหรือภริยา คนทั้งสองแบบที่ว่านี้ถือว่าเป็นบุคคลประเภท 6

ประเภท ที่ 7

คือบุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย คนกลุ่มนี้ในทะเบียนประวัติจะมีเลขประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข 7

ประเภท ที่ 8

คือคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย คือผู้ที่ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติ เป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทยตั้งแต่หลังวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นต้นไปจนปัจจุบัน
คนทั้งแปดประเภทนี้จะมีเพียงประเภทที่ 3, 4 และ 5 เท่านั้นที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้เลย ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ก็ต่อเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ทำบัตรประจำตัวประชาชน คืออายุ 15 ปี แต่สำหรับบุคคลประเภทที่ 6, 7 และ 8 จะมีเพียงทะเบียนประวัติเล่มสีเหลืองเท่านั้น จะไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้

ตัว เลขหลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5

1 2345  67890 12  3
หมายถึง   รหัสของสำนักทะเบียนหรืออำเภอที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนขณะที่ให้เลข กล่าวคือ เลขหลักที่ 2 และ 3 จะหมายถึงจังหวัดที่อยู่ ส่วนหลักที่ 4 และ 5 หมายถึงเขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ

ตัว เลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10

1 2345  67890 12  3
หมายถึง   กลุ่มของบุคคลแต่ละประเภทตามหลักแรก ซึ่งทางสำนักทะเบียนในแต่ละแห่งก็จะจัดกลุ่มเรียงไปตามลำดับหรือหากเป็นเด็ก เกิดใหม่ในปัจจุบันเลขดังกล่าวก็จะหมายถึงเล่มที่ของสูติบัตร (ใบแจ้งเกิดที่อำเภอหรือเขตออกให้) ซึ่งก็คือเลขประจำตัวในทะเบียนบ้านของเด็กที่แต่ละอำเภอหรือเขตออกให้ และจะปรากฏในบัตรประชาชนเมื่อถึงอายุต้องทำบัตรนั่นเองแต่ถ้ายังไม่ถึงเกณฑ์ เลขนี้ก็จะปรากฏอยู่แค่ในทะเบียนบ้านของเด็กเท่านั้น

ตัว เลขหลักที่ 11 ถึงหลักที่ 12

1 2345  67890 12  3
หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภทเป็นการจัดลำดับว่าเป็นคนที่ เท่าไรในกลุ่มของบุคคลนั้นๆ

ตัว เลขหลักที่ 13

1 2345  67890 12  3
ตัวเลขหลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้อง ของเลขทั้ง 12 หลักแรก
การคำนวณเลขหลักที่ 13 ของเลขประจำตัวประชาชน ใช้หลักการคำนวณเลขคณิตมอดุลาร์ จากเลข 12 หลักแรก
ให้เลขหลักแรกทางซ้ายคือ N1 หลักต่อไปคือ N2 ไปเรื่อยๆ
N13 คือหลักที่ต้องการคำนวณ








ตัว เลขหลักที่ 6 ถึงหลักที่ 13

1 2345  67890 12  3
เป็นการจัดหมวดหมู่และเรียงลำดับบุคคลในแต่ละประเภทของสำนักทะเบียนในแต่ ละท้องที่ระบบตัวเลขแต่ละหลักนี้ทำให้สามารถรองรับจำนวนประชากรได้อีกมากในระดับ 18 ปี
                   ลขสิบสามหลัก สำหรับคนไทยนั้น  แต่ละตัวมีความหมาย ฉะนั้น ทุกคนก็ทราบที่มาของเลขสิบสามแล้ว  .... บอกต่อกันนะเจ้าค่ะ.....

************

อ้างอิง